ย้ำคิดย้ำทำ รักษาได้

               หนึ่งในโรคจิตเวชที่รักษาได้ด้วยยา คือโรคย้ำคิดย้ำทำ สมัยก่อนเป็นแล้วรักษาด้วยวิธีการจิตบำบัดอย่างเดียว คนเป็นแล้วไม่ค่อยรักษากันครับ ปัจจุบันมียาดีๆ รักษาหายได้เร็ว ใครเป็นรีบรักษากันครับ

               อ้อม เป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย กำลังเรียนใกล้จบแล้ว มาหาหมอเรื่องมีอาการย้ำคิดย้ำทำ เป็นมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยรักษา อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด ปราศจากเชื้อโรค เคยล้างมือเช่นนี้จนมือเปื่อย แต่ก็ห้ามใจไม่ได้ รู้ว่าการทำซ้ำๆทั้งหมดนี้เป็นเรื่องไม่ปกติ อยากหาย วันหนึ่งไปเรียนวิชาสุขภาพจิตที่ผมสอนที่คณะฯ เป็นวิชาเลือกสำหรับนักศึกษาทั่วไป ผมเล่าเรื่องโรคย้ำคิดย้ำทำ มีอาการอย่างไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร ท้ายชั่วโมงเธอเดินมาขอคุยด้วย บอกว่าเธอน่าจะเป็นโรคนี้ อาการเหมือนกับที่หมอสอนเลย ไม่คิดว่าจะรักษาได้ อาการย้ำทำล่าสุด คือ ขับรถตกหลุมกลางถนน ผ่านไปแล้วสงสัยว่าเมื่อตะกี้นี้ไปทับใครหรือไม่ ต้องย้อนกลับตรวจสอบให้แน่ใจ พอผ่านไปรอบที่สอง ชะลอเช็คไม่เห็นว่ามีอะไร แต่ขับรถผ่านไปแล้วก็ไม่แน่ใจอีก ต้องวนรถกลับมาดูสี่ห้ารอบ ทำให้ชีวิตต้องเสียเวลาไปกับการตรวจเช็คเรื่องเหล่านี้ เห็นว่าหมอรักษาได้เลยอยากลองรักษาดู เรื่องการย้ำทำหลายอย่างของอ้อมนี้ เป็นอาการสามัญของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-compulsive Disorder เรียกย่อๆว่า OCD ประกอบด้วยการย้ำคิด เช่น คิดว่าลืมปิดประตู คิดว่ามีเชื้อโรคติดมาตามร่างกาย ย้ำคิดว่าจะเป็นโรค คิดว่าขับรถทับใคร แล้วทำให้ย้ำทำ คือ การตรวจสอบ เช็คซ้ำ ให้แน่ใจ แต่พอย้ำทำแล้วไม่แน่ใจอีก จะย้ำคิดว่าได้ทำแล้วจริงมั้ย เกิดความกังวล  ต้องกลับไปทำซ้ำๆ หลายๆครั้ง เพื่อลดความกังวล พอทำไปหลายๆครั้งจะเข้าวงจรของโรคนี้ และอาการจะเปลี่ยนไปเป็นย้ำคิดย้ำทำแบบอื่น เช่น ถามคนใกล้ชิดซ้ำๆ ขอความมั่นใจ ให้คนอื่นช่วยยืนยัน การถามซ้ำนี้จะทำให้คนถูกถามรำคาญ หงุดหงิด ไปจนถึงระเบิดได้ เพราะเธอถามไม่หยุด ด้วยคำถามเดิมๆ เช่น ไม่เป็นไรแน่นะ หมอที่รักษาจะโดนถามซ้ำๆ ว่า หายแน่นะคะหมอ วงจรย้ำคิดย้ำทำนี้ เป็นกลไกทางจิต ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติครับ ถ้าไม่รักษาจะฝังแน่น รักษายาก บางคนมีอาการเด่นเฉพาะย้ำคิด เช่น เวลาเดินผ่านพระภิกษุ จะมีความคิดว่าอยากเข้าไปเขกหัว ไม่รู้ว่าทำไมถึงอยากทำแบบนั้น แต่ห้ามความคิดนั้นไม่ได้ คิดแล้วก็รู้สึกผิด บาป จนพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าวัด บางคนกลัวว่าจะทำตามการย้ำคิดนั้นจริงๆ การรักษาปัจจุบัน จะใช้ยาควบคู่กับพฤติกรรมบำบัดครับ ยาไปช่วยปรับสมดุลของสารสื่อนำประสาท ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ คือ ซีโรโทนิน อาการจะดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 2-3 เดือนจะได้ผล บางคนอาการหมดไปเลย แต่คนที่เป็นเรื้อรังมาหลายๆปี อาจต้องปรับยา และฝึกความคิดและพฤติกรรมต่ออีกหลายเดือน กว่าจะหายได้ ผลการรักษาดีกว่าแต่ก่อนมากครับ หลังจากที่อ้อมได้ไปรักษากับจิตแพทย์ และนักจิตบำบัดที่ผมแนะนำ เธอก็เดินยิ้มกลับมารายงานผลว่าตอนนี้หายแล้ว มีบางครั้งที่กลับมีอาการอีก แต่ใช้วิธีการบำบัดตัวเองที่ฝึกจากนักจิตบำบัด ก็หายได้ หมอให้กินยาพักใหญ่ ตอนนี้ลดยาจนใกล้หยุดได้แล้ว ขอบคุณมากที่หมอช่วยแนะนำ ตอนนี้พยายามชวนพ่อที่น่ามีอาการโรคซึมเศร้า และแม่ที่สงสัยว่าเป็นโรคแพนิก ไปหาจิตแพทย์ท่านนั้น ผมเลยอธิบายว่า โรคทั้งสามในครอบครัวอ้อมนี้ เป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นกรรมพันธุ์ เกิดจากการเสียสมดลของซีโรโทนินเหมือนกัน แต่อาการอาจแตกต่างกัน บางคนออกมาเป็นย้ำคิดย้ำทำ บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนเป็นโรคแพนิก แต่ทั้งสามโรคนี้รักษาหายได้ด้วยยาตัวเดียวกันครับ  

โรคจิตเวชเดี๋ยวนี้รักษาได้ผลดี ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก การให้ความรู้เรื่องโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญครับ ช่วยให้คนเข้าใจ มีความหวัง เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว มีความสุขกับชีวิตได้เต็มที่ครับ

ไฮไลท์

“อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด”

บทความหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567

ย้ำคิดย้ำทำ รักษาได้

               หนึ่งในโรคจิตเวชที่รักษาได้ด้วยยา คือโรคย้ำคิดย้ำทำ สมัยก่อนเป็นแล้วรักษาด้วยวิธีการจิตบำบัดอย่างเดียว คนเป็นแล้วไม่ค่อยรักษากันครับ ปัจจุบันมียาดีๆ รักษาหายได้เร็ว ใครเป็นรีบรักษากันครับ

               อ้อม เป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย กำลังเรียนใกล้จบแล้ว มาหาหมอเรื่องมีอาการย้ำคิดย้ำทำ เป็นมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยรักษา อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด ปราศจากเชื้อโรค เคยล้างมือเช่นนี้จนมือเปื่อย แต่ก็ห้ามใจไม่ได้ รู้ว่าการทำซ้ำๆทั้งหมดนี้เป็นเรื่องไม่ปกติ อยากหาย วันหนึ่งไปเรียนวิชาสุขภาพจิตที่ผมสอนที่คณะฯ เป็นวิชาเลือกสำหรับนักศึกษาทั่วไป ผมเล่าเรื่องโรคย้ำคิดย้ำทำ มีอาการอย่างไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร ท้ายชั่วโมงเธอเดินมาขอคุยด้วย บอกว่าเธอน่าจะเป็นโรคนี้ อาการเหมือนกับที่หมอสอนเลย ไม่คิดว่าจะรักษาได้ อาการย้ำทำล่าสุด คือ ขับรถตกหลุมกลางถนน ผ่านไปแล้วสงสัยว่าเมื่อตะกี้นี้ไปทับใครหรือไม่ ต้องย้อนกลับตรวจสอบให้แน่ใจ พอผ่านไปรอบที่สอง ชะลอเช็คไม่เห็นว่ามีอะไร แต่ขับรถผ่านไปแล้วก็ไม่แน่ใจอีก ต้องวนรถกลับมาดูสี่ห้ารอบ ทำให้ชีวิตต้องเสียเวลาไปกับการตรวจเช็คเรื่องเหล่านี้ เห็นว่าหมอรักษาได้เลยอยากลองรักษาดู เรื่องการย้ำทำหลายอย่างของอ้อมนี้ เป็นอาการสามัญของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-compulsive Disorder เรียกย่อๆว่า OCD ประกอบด้วยการย้ำคิด เช่น คิดว่าลืมปิดประตู คิดว่ามีเชื้อโรคติดมาตามร่างกาย ย้ำคิดว่าจะเป็นโรค คิดว่าขับรถทับใคร แล้วทำให้ย้ำทำ คือ การตรวจสอบ เช็คซ้ำ ให้แน่ใจ แต่พอย้ำทำแล้วไม่แน่ใจอีก จะย้ำคิดว่าได้ทำแล้วจริงมั้ย เกิดความกังวล  ต้องกลับไปทำซ้ำๆ หลายๆครั้ง เพื่อลดความกังวล พอทำไปหลายๆครั้งจะเข้าวงจรของโรคนี้ และอาการจะเปลี่ยนไปเป็นย้ำคิดย้ำทำแบบอื่น เช่น ถามคนใกล้ชิดซ้ำๆ ขอความมั่นใจ ให้คนอื่นช่วยยืนยัน การถามซ้ำนี้จะทำให้คนถูกถามรำคาญ หงุดหงิด ไปจนถึงระเบิดได้ เพราะเธอถามไม่หยุด ด้วยคำถามเดิมๆ เช่น ไม่เป็นไรแน่นะ หมอที่รักษาจะโดนถามซ้ำๆ ว่า หายแน่นะคะหมอ วงจรย้ำคิดย้ำทำนี้ เป็นกลไกทางจิต ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติครับ ถ้าไม่รักษาจะฝังแน่น รักษายาก บางคนมีอาการเด่นเฉพาะย้ำคิด เช่น เวลาเดินผ่านพระภิกษุ จะมีความคิดว่าอยากเข้าไปเขกหัว ไม่รู้ว่าทำไมถึงอยากทำแบบนั้น แต่ห้ามความคิดนั้นไม่ได้ คิดแล้วก็รู้สึกผิด บาป จนพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าวัด บางคนกลัวว่าจะทำตามการย้ำคิดนั้นจริงๆ การรักษาปัจจุบัน จะใช้ยาควบคู่กับพฤติกรรมบำบัดครับ ยาไปช่วยปรับสมดุลของสารสื่อนำประสาท ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ คือ ซีโรโทนิน อาการจะดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 2-3 เดือนจะได้ผล บางคนอาการหมดไปเลย แต่คนที่เป็นเรื้อรังมาหลายๆปี อาจต้องปรับยา และฝึกความคิดและพฤติกรรมต่ออีกหลายเดือน กว่าจะหายได้ ผลการรักษาดีกว่าแต่ก่อนมากครับ หลังจากที่อ้อมได้ไปรักษากับจิตแพทย์ และนักจิตบำบัดที่ผมแนะนำ เธอก็เดินยิ้มกลับมารายงานผลว่าตอนนี้หายแล้ว มีบางครั้งที่กลับมีอาการอีก แต่ใช้วิธีการบำบัดตัวเองที่ฝึกจากนักจิตบำบัด ก็หายได้ หมอให้กินยาพักใหญ่ ตอนนี้ลดยาจนใกล้หยุดได้แล้ว ขอบคุณมากที่หมอช่วยแนะนำ ตอนนี้พยายามชวนพ่อที่น่ามีอาการโรคซึมเศร้า และแม่ที่สงสัยว่าเป็นโรคแพนิก ไปหาจิตแพทย์ท่านนั้น ผมเลยอธิบายว่า โรคทั้งสามในครอบครัวอ้อมนี้ เป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นกรรมพันธุ์ เกิดจากการเสียสมดลของซีโรโทนินเหมือนกัน แต่อาการอาจแตกต่างกัน บางคนออกมาเป็นย้ำคิดย้ำทำ บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนเป็นโรคแพนิก แต่ทั้งสามโรคนี้รักษาหายได้ด้วยยาตัวเดียวกันครับ  

โรคจิตเวชเดี๋ยวนี้รักษาได้ผลดี ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก การให้ความรู้เรื่องโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญครับ ช่วยให้คนเข้าใจ มีความหวัง เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว มีความสุขกับชีวิตได้เต็มที่ครับ

ไฮไลท์

“อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด”

บทความหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567

ป้องกันแล้ว:โรงเรียนปิดเทอม นักเรียนทำอะไรกัน

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

ป้องกันแล้ว:เด็กปัญญาเลิศ เด็กพิเศษกลุ่มที่ 5

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

ป้องกันแล้ว:เด็กปัญญาอ่อน เด็กพิเศษกลุ่มที่ 4

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

ป้องกันแล้ว:เด็กพิเศษประเภทที่ 2 โรคสมาธิสั้น

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

ป้องกันแล้ว:เด็กพิเศษประเภทที่ 1 สมองดีมีปัญหาการเรียน

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

จิตวิทยาเชิงบวกในการศึกษาแพทย์

(Positive Psychology in Medical Education)

น.พ. พนม เกตุมาน

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

จิตวิทยาเชิงบวก เป็นจิตวิทยาแนวทางใหม่ ที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ ที่เกิดจากอารมณ์เชิงบวก ที่ทำให้คนมีความสุข และทำให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก สามารถนำมาใช้ในการเรียนรู้ การทำงาน และการดำเนินชีวิต

จิตวิทยาในแนวทางเดิม (traditional psychology) ศึกษาอารมณ์ที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ เช่น เครียด กังวล ซึมเศร้า และเน้นที่การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาอารมณ์ดังกล่าว ให้อาการดีขึ้น จิตวิทยาในระยะแรกจึงมุ่งสนใจเมื่อเกิดปัญหากับอารมณ์และความคิดที่เป็นพยาธิสภาพ  โดยขาดมิติของความสามารถทางจิตใจด้านบวก ที่มีแฝงอยู่ในคนทุกคน ทำให้คนมีความสุข สงบ มีพลัง มีแรงจูงใจ มีเป้าหมายในการเรียน การทำงาน ซึ่งเป็นคุณค่าความหมายของชีวิตที่แท้จริง จิตวิทยาเชิงบวก1 (positive psychology) จึงเป็นแนวทางใหม่ที่เกิดขึ้นปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ชื่อ Martin Seligman แนวคิดของจิตวิทยาเชิงบวกนั้น เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพมากที่จะพัฒนาตนเอง มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับมนุษย์ด้วยกัน และสิ่งแวดล้อมที่จะดำเนินชีวิตไปถึงจุดมุ่งหมายที่มีคุณค่า และมีความสุขร่วมกันได้ แนวคิดนี้ได้รับความสนใจและมีนักจิตวิทยาสมัยใหม่เข้าร่วมศึกษาวิจัย เห็นประโยชน์และคุณค่า จนเกิดเป็นกลุ่มที่หันมาใช้จิตวิทยาเชิงบวกในชีวิต ส่งเสริมให้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ องค์กร ชุมชนและสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าจิตวิทยาเชิงบวกยังช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เมื่อดีขึ้นแล้วพัฒนาตนเองต่อไป เกิดทักษะที่ช่วยป้องกันไม่ให้กลับมามีปัญหาเดิมอีกด้วย

ทฤษฎีทางจิตวิทยาพัฒนาการในอดีต มีแนวคิดที่สอดคล้องกับจิตวิทยาเชิงบวก เช่น ทฤษฎีจิตวิทยาของแรงจูงใจมนุษย์ ของ Maslow ที่ให้ความสำคัญของการตอบสนองความต้องการมนุษย์ตามระดับต่างๆ เพื่อให้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุดของคนแต่ละคน  พลังสุขภาพจิต (resilience) หรือความยืดหยุ่นในชีวิต ที่เน้นการสร้างเสริมปัจจัยทางบวก ทำให้คนที่เผชิญปัญหา มีความสามารถฟื้นคืนกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อย่างรวดเร็ว ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional quotient) ที่เน้นเรื่องการเข้าใจและจัดการอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สร้างแรงจูงใจทางบวก การสร้างความสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น แนวทางเหล่านี้มุ่งไปที่การพัฒนาคนตั้งแต่เด็ก ให้มีปัจจัยบวกเป็นต้นทุนชีวิตที่ ช่วยให้ดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุข มีคุณค่าทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม

ทางการศึกษามีผู้นำจิตวิทยาเชิงบวก มาใช้ในการเรียนรู้ของเด็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการจัดการศึกษา เกิดกลุ่มจิตวิทยาเชิงบวกในการศึกษา (Positive Education)  แนวทางนี้ให้ความสำคัญกับอารมณ์ จิตใจ สิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการเรียนรู้ ทำให้เด็กมีความสุข สนุก เรียนรู้เรื่อง นำไปใช้ได้ ทำให้มีแรงจูงใจในการเรียนรู้  อยากเรียนด้วยตัวเอง และเรียนรู้ต่อเนื่องได้มากกว่าแนวทางเดิม  การเรียนในโรงเรียนแบบเดิมที่ผ่านมานั้น  ใช้แนวทางจิตวิทยาที่เน้นอารมณ์ด้านลบมาเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การลงโทษ การตำหนิ เมื่อเด็กไม่มีแรงจูงใจ หรือไม่เรียน  ทำให้เด็กกลัว กังวล โดยเชื่อว่าเด็กจะมีพฤติกรรมเรียนรู้ โดยหลีกเลี่ยงอารมณ์ด้านลบ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จึงเกิดจากความรู้สึกด้านลบ กลัวการลงโทษ ดุด่าว่ากลัว หรือทำให้อับอาย การเปรียบเทียบ การตำหนิ กดดัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ เช่น ถ้าตอบไม่ได้จะโดนดุ อับอาย  ไม่เรียนจะโดนลงโทษ ถ้าคะแนนต่ำจะสู้เขาไม่ได้ จะพ่ายแพ้ จะแข่งกับใครไม่ได้  ถ้าไม่อ่านหนังสือจะสอบตก จะอับอาย ชีวิตจะล้มเหลว ถ้าไม่ตั้งใจเรียนจะโง่ ไร้คุณค่า  ถ้าทำงานไม่เสร็จ จะไม่ได้เล่น เรียนไม่ดี ชีวิตจะล้มเหลว การเรียนรู้ในแนวทางแบบนี้  ได้ผลระดับหนึ่ง แต่จะทำให้ผู้เรียนขาดความสุข กลัว ไม่ปลอดภัย ไม่กล้าแสดงออก กลัวผิด  ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างผู้เรียนและผู้สอน การแข่งขันทำให้ขาดความสัมพันธ์เชิงบวกกับเพื่อนๆ ขาดการช่วยเหลือกัน  เรียนรู้ด้วยความจำใจ ไม่อยากเรียน เบื่อเรียน ทำให้เกิดความเครียดและซึมเศร้าได้ง่าย การเรียนจึงเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เลวร้าย เต็มไปด้วยความกังวล และความกลัว โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหา หรือความล้มเหลว เครียดและเศร้า มองตนเองไม่ดี การเรียนถูกฝึกมาให้ชีวิตต้องป้องกันความผิดพลาดตลอดเวลา ครูควรระมัดระวังทัศนคติเชิงลบนี้ เพราะถ้าเกิดขึ้นมากโดยไม่มีอารมณ์ด้านบวก จะเครียดสะสมจนกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ การใช้แนวคิดของ Positive Psychology นอกจากช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจากภายใน มีความสุขในการเรียนรู้  มีความผูกพันกันกับเพื่อน ครูและการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ดีต่อกัน  อยากเรียนรู้มากกว่าถูกบังคับ  มีพลังต่อสู้ได้กับความล้มเหลว ไม่ติดอยู่กับความสำเร็จส่วนตัวแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีความสุขกับความสำเร็จร่วมกันกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของคนในระยะยาวด้วย

จิตวิทยาเชิงบวก2 ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีหลักการให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจากภายใน เริ่มต้นจากการมีอารมณ์ด้านบวก ทำให้เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน ตื่นเต้น ท้าทาย อยากเรียน จนลืมเวลา เกิดความไหลลื่นในการเรียนรู้ (Flow)  ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จำได้ เข้าใจ ทำได้ อยากทำ มีแรงจูงใจ มีส่วนร่วม เกิดความสัมพันธ์ ความผูกพันกับผู้เรียนด้วยกันและกับผู้สอน การเรียนรู้มีคุณค่าและความหมาย เพราะเชื่อมโยงกับชีวิตจริง นำไปใช้ได้ เกิดความสำเร็จในตนเอง นำไปใช้ได้ในอนาคต

จิตวิทยาเชิงบวก เป็นแนวทางจิตวิทยาใหม่ ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวก3 คือ Strengths และ Virtues ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมเชิงบวก  ที่จะเกิดขึ้นในพัฒนาการมนุษย์ และมีความสุขร่วมกันกับมนุษย์อื่นและสิ่งแวดล้อม บรรลุความสำเร็จเต็มที่ตามศักยภาพตนเอง

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ Positive Psychology

FLOW4 (Mihaly Csikszentmihalyi)

FLOW คือ คำอธิบายประสบการณ์ที่มีความสุขในการเรียนรู้หรือการทำงาน เพลิดเพลินทำไปจนลืมวันเวลา มีความสุขการกระทำจนไม่อยากเลิก และอยากทำสิ่งนั้นต่อไปเรื่อยๆ เกิดความไหลลื่นในการเรียนรู้ เกิดจากการได้ทำในสิ่งที่ชอบ เกิดความสนุก ตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น ท้าทาย รู้สึกดีต่อตนเอง ได้เรียนรู้และประสบความสำเร็จในการกระทำนั้น เห็นคุณค่าและความหมายรวมทั้งประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งต่อตนเองและผู้อื่น อารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ด้านบวก (positive emotion)

Broaden and Build Theory5,6 (Barbara Fredrickson )

คือทฤษฎีที่อธิบายว่าเมื่อคนมีอารมณ์บวก (positive emotion) จะมีผลทำให้จิตใจกว้าง เปิดรับข้อมูลใหม่ การเรียนรู้ใหม่ได้เร็ว มีประสิทธิภาพ เป็นการเรียนรู้ทางบวก (positive education) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

คนที่มีอารมณ์ด้านบวก มักอารมณ์ดี เป็นที่รักของคนอื่น มีความยืดหยุ่น (resilience) ปรับตัวได้ดีเวลามีปัญหาอุปสรรคในชีวิต เรียนรู้ได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และลดผลของอารมณ์ลบ (negative emotions)  จึงช่วยป้องกันปัญหาอารมณ์ ลดความกังวล หรืออารมณ์ซึมเศร้า ทำให้มีความสุขกับชีวิต ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น อีคิวดีขึ้น ความสัมพันธ์กับคนอื่นดีขึ้น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีและมีความสุข ทำให้เกิดชุมชนที่มีความสุข (happy workplace)

อารมณ์ที่เป็นบวก ช่วยให้สมองทบทวนความคิดและการกระทำ สามารถทบทวนตนเอง ว่ากำลังคิด รู้สึกอย่างไรต่อพฤติกรรมหรือการกระทำนั้น ครูสามารถนำหลักการนี้มาใช้กับนักเรียน เมื่อสร้างบรรยากาศที่สงบ ปลอดภัย เช่น การการฝึกสติ การกำหนดลมหายใจ ให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน จะฝึกให้เด็กทบทวนว่ากำลังคิดอะไร รู้สึกอย่างไร และสัมพันธ์กับร่างกายอย่างไร เรียกว่า          metacognition training การฝึกเช่นนี้บ่อยๆ ช่วยให้เด็กรู้ตัวได้เร็ว สงบใจได้เร็ว หยุดคิดฟุ้งซ่าน มีสมาธิ และนำมาใช้ในการใคร่ครวญ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ป้องกันความเครียด วิตกกังวล ฟุ้งซ่าน และอารมณ์เศร้าได้ การรู้อารมณ์ตัวเอง และสามารถบอกตัวเองในใจได้เร็ว จะช่วยลดอารมณ์ด้านลบได้ด้วยตัวเอง เมื่ออารมณ์สงบ สามารถนำมาไตร่ตรองคิดต่อยอดลึกลงไปได้ว่า ความคิดแบบใดทำให้รู้สึกแบบนั้น ความรู้สึกลบทำให้คิดลบ ความรู้สึกบวกทำให้คิดบวก หรือคิดได้กว้างขวางทั้งบวกและลบ คิดต่อไปได้ว่าทำไมถึงคิดแบบนั้น ความคิดนั้นมาจากความเชื่อเดิมอย่างไร ความเชื่อเดิมเกิดจากประสบการณ์เดิมในอดีตอย่างไร เมื่อทบทวนลึกลงไปในจิตใจในอดีต จะมองเห็นตัวตน ทั้งด้านบวกด้านลบ เห็นความเชื่อที่อาจไม่ถูกต้อง เห็นความขัดแย้งของความคิดความเชื่อเดิมกับความคิดในปัจจุบัน มองเห็นและเข้าใจอคติที่เคยมีมา และเมื่อไตร่ตรองในอารมณ์สงบ จะเกิดการเรียนรู้ใหม่ ยกเลิกการเรียนรู้เดิม (unlearn) แล้วเกิดการเรียนรู้ใหม่ (relearn) เกิดความคิดใหม่ ความเชื่อใหม่ ที่เป็นจริงมากกว่าเดิม เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวตนจากภายใน (transformative process) การทำใจให้สงบ เมื่อทบทวนตนเอง (reflection) จึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning)

Strength and Virtues7

          จิตวิทยาเชิงบวกให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เพื่อให้เกิดคุณลักษณะ 6 กลุ่ม (6 virtues) แต่ละกลุ่มมีจุดแข็ง ต่างๆ รวมทั้งหมด 24 ประเภท( 24character strengths) ดังนี้

1. ปัญญาและความรู้ (Wisdom and Knowledge) ประกอบด้วย ความสร้างสรรค์ (Creativity) ความใฝ่รู้ (Curiosity) การเป็นคนเปิดใจยอมรับ (Open-mindedness) ความรักในการเรียนรู้ (Love of learning) และการมีมุมมองวิสัยทัศน์ (Perspective)

 2. ความกล้าหาญ (Courage) ประกอบด้วย ความกล้า (Bravery) ความมุ่งมั่น (Persistence) ความซื่อสัตย์ (Integrity) และ ความมีชีวิตชีวา (Vitality)            

 3. มนุษยธรรม (Humanity) ประกอบด้วย ความรัก (Love) ความเมตตา (Kindness) และการมีความฉลาดทางสังคม (Social intelligence)

 4. ความยุติธรรม (Justice) ประกอบด้วย การเป็นพลเมืองดี (Citizenship) ความเป็นธรรม (Fairness) และความเป็นผู้นำ (Leadership)

 5. การควบคุมอารมณ์ (Moderation/Temperance) ประกอบด้วย การให้อภัย (Forgiveness and mercy) ความเป็นมนุษย์ ถ่อมตน เห็นอกเห็นใจ (Humility/Modesty) และความสุขุมรอบคอบ (Prudence)

 6. การจัดการตนเอง (Self-regulation) ประกอบด้วย การก้าวผ่านตัวตน (Transcendence) การมีสุนทรีย์ในความงามและความเป็นเลิศ (Appreciation of beauty and excellence) ความสำนึกบุญคุณ (Gratitude) การมองโลกบวกมีความหวัง (Hope/Optimism) การมีอารมณ์ขัน (Humor) และการมีจิตวิญญาณมนุษย์ (Spirituality)

PERMA Model

แนวทางของ Positive Psychology (Martin Seligman) มีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบ 5 มิติ ใช้คำย่อว่า  PERMA  มีรายละเอียดดังนี้

P-Positive Emotion ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางบวก เช่น สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย ทึ่ง ชวนคิด อยากรู้ อยากเอาชนะ อยากเปลี่ยนแปลง ชื่นชมตนเอง ชื่นชมผู้อื่น รู้สึกดีต่อตนเอง ภูมิใจตนเอง ชื่นชมกลุ่ม กิจกรรมในการเรียนรู้ จึงควรออกแบบให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วม ทำงานร่วมกัน ช่วยกันแก้ปัญหา และเอาชนะอุปสรรคต่างๆด้วยกัน เมื่อจบการเรียนรู้ ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเห็นคุณค่าตนเอง ภูมิใจตนเอง อยากเรียนรู้ต่อไปด้วยตัวเอง และยังรู้สึกเป็นที่ยอมรับจากเพื่อน จากครู จากชุมชนสิ่งแวดล้อม

E-Engagement ผู้เรียนมีพฤติกรรมมีส่วนร่วม (engage) ในกิจกรรม โดยการมีส่วนร่วม แสดงออก ร่วมมือ ไม่สนใจกิจกรรมอื่น ให้เวลา และทุ่มเทในงาน การออกแบบกิจกรรมที่ดี จะช่วยให้เกิดความร่วมใจกับผู้สอนและร่วมมือกันในกลุ่ม การใช้กระบวนการกลุ่มที่ดี มีการแบ่งกลุ่มให้เสมอภาคกันทุกกลุ่ม (heterogeneous) ฝึกให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่าง เน้นกระบวนการกลุ่ม (process) มากกว่าผลงานกลุ่ม (product) มีการสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม มีการสอนงานกลุ่ม (group coaching) มีการประเมินกลุ่ม และให้มี constructive feedback สม่ำเสมอ จะช่วยให้เกิดความมีส่วนร่วมนี้ ผู้สอนควรสังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และช่วยเหลือผู้เรียนที่ไม่เชื่อมโยงกับกลุ่มให้ร่วมมือกับกลุ่มมากขึ้น ให้เพื่อนยอมรับ มีการรับฟัง แสดงความความเห็น ถกเถียง สรุป มีการฝึกทักษะผู้นำผู้ตาม

               การมีส่วนร่วมนั้น เกิดขึ้นระหว่างคนกับกิจกรรม และระหว่างคนด้วยกันเอง (ระหว่างเพื่อน ระหว่างครูกับนักเรียน) และระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม

R-Relationship ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างดี มีความร่วมมือร่วมใจ (collaboration )เป็นอันหนึ่งอันเดียว (cohesion) มีการสื่อสาร (communication) แบ่งปันร่วมทุกข์ร่วมสุข (sharing) มีความเป็นผู้นำผู้ตาม (leadership) ในความสัมพันธ์ที่ดีนั้น มีความรู้สึกที่ดีตามมา เห็นคุณค่าของการทำงานกลุ่ม ยอมรับความแตกต่าง ได้ช่วยเหลือส่งเสริมกัน สะท้อนถึงการทำงานหรือใช้ชีวิตกันในสังคม

ในกลุ่มที่ต้องการเน้นทักษะสังคมในการทำงานร่วมกัน การประเมินเพื่อสร้างสรรค์โดยไม่มีคะแนน จะช่วยให้เกิดการพัฒนาผู้เรียน

ความสัมพันธ์เชิงบวกนั้น เกิดขึ้นระหว่างคนกับกิจกรรม และระหว่างคนด้วยกันเอง (ระหว่างเพื่อนนักเรียน ระหว่างครูกับนักเรียน) และระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม

M-Meaning สิ่งที่เรียนรู้มีความหมายสำคัญ มีคุณค่า ตอบคำถามของเป้าหมายชีวิต สัมพันธ์กับการเรียนรู้ในอดีต ชวนให้คิดถึงการเรียนรู้เดิม สัมพันธ์กับปัจจุบัน คือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด หรือความเชื่ออะไร เกิดการเปลี่ยนแปลงใดในปัจจุบัน ทำให้มีแรงจูงใจจะทำอะไรต่อไป สัมพันธ์กับอนาคต จะนำไปใช้กับชีวิตได้อย่างไร ผู้สอนควรช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์นี้เป็นระยะๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าของสิ่งที่เรียนต่อตนเอง

การเรียนรู้แบบ problem-based learning เป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องหนึ่ง ที่ชวนให้ผู้เรียนได้สัมผัสปัญหาก่อน สร้างความตระหนัก และชวนคิดให้แก้ปัญหา ความท้าทายจะสร้างแรงจูงใจ อยากรู้อยากเห็น นำไปสู่การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับชีวิตจริง แสวงหาข้อมูล นำข้อมูลมาเชื่อมโยงกับความรู้ทางทฤษฎีเพื่อแก้ปัญหา เมื่อทำได้สำเร็จจะเห็นคุณค่าและความหมายของการเรียน จะจำได้นานและเกิดสมรรถนะ (competency) ในการนำไปใช้ในชีวิตต่อไป

คุณค่าและความหมายนั้น เกิดขึ้นเชิงบวกในผู้เรียน กิจกรรม คนอื่น ชุมชนกับสิ่งแวดล้อม เช่น ช่วยตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ต่อตนเอง และผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม

A-Accomplishment การเรียนรู้นั้นทำให้เกิดความสำเร็จอะไรในชีวิต ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางบวก เมื่อได้ทบทวนว่าได้อะไรบ้าง แม้แต่เป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น ได้ความรู้ ข้อคิด ได้ทักษะ ได้ทัศนคติใหม่ เช่น เกิดความอยากรู้ อยากเรียน อยากอ่าน อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม

               ความสำเร็จนั้น เกิดขึ้นระหว่างกิจกรรม (process accomplishment)  หรือ เมื่อทำได้สำเร็จ (product accomplishment)

               ครูช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกทำได้สำเร็จเป็นขั้นๆ ทีละน้อย ให้ชื่นชมกับความก้าวหน้าของตนเอง โดยไม่จำเป็นเปรียบเทียบกับคนอื่น

สรุปการสร้างจิตวิทยาเชิงบวก ใช้แนวทาง 5 มิติ เรียกโดยใช้ตัวย่อว่า PERMA m[

จิตวิทยาเชิงบวกในการศึกษาแพทย์

ครูแพทย์สามารถประยุกต์ PERMA Model มาใช้ในห้องเรียน การเรียนการสอน หรือการออกแบบกิจกรรม โดยให้ผู้เรียนมีอารมณ์ด้านบวก มีความผูกพันกันกิจกรรม มีความสัมพันธ์กันดีและสัมพันธ์กับครูที่ดี เห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน และมีความสำเร็จจากการเรียนรู้นั้น

ครูสามารถประเมินการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนสะท้อนการเรียนรู้ (reflection) ในตอนท้ายกิจกรรม โดยให้ผู้เรียนทบทวนตนเอง และสะท้อนว่ารู้สึกอย่างไรในการเรียนรู้นั้น เป็นความรู้สึกด้านบวกหรือไม่ (positive emotion) มีส่วนร่วมในกิจกรรม (engagement) นั้นอย่างไร เกิดความความสัมพันธ์ผูกพันกับเพื่อนๆและผู้สอน (relationship) มากน้อยแค่ไหน สิ่งที่เรียนรู้ใหม่นั้นมีคุณค่าต่อชีวิตอย่างไร นำไปใช้ได้อย่างไร (meaning) และรู้สึกว่าประสบความสำเร็จใดบ้าง (accomplishment)

การใช้จิตวิทยาเชิงบวก ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้  โดยเกิดอารมณ์ด้านบวกในการเรียน อยากเรียนรู้ต่อ ไปเรียนรู้เพิ่มเติม และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป โดยกำหนดเป้าหมายและการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต และช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี  เกิดทักษะสำคัญที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ ความร่วมมือร่วมใจ (collaboration) การสื่อสารทางบวก (positive communication) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) การคิดไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล (critical thinking)

คุณค่าของการเรียนรู้โดยใช้แนวทางจิตวิทยาเชิงบวก

            เมื่อใช้แนวทางของจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้เรียน และผู้สอน

  1. ห้องเรียนมีความสุข
  2. เรียนรู้อย่างมีความสุข อยากเรียน อยากรู้ ไปเรียนรู้เอง
  3. เรียนแล้วจำได้ ทำได้จริง เรียนรู้แบบต่อยอด เชื่อมโยงกัน
  4. เรียนแล้วนำไปใช้ได้ในชีวิต เห็นคุณค่าและประโยชน์
  5. ผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันดี ช่วยเหลือ ไม่แข่งขัน
  6. ผู้สอนมีความสุข สนุก อยากสอน

ห้องเรียนที่มีบรรยากาศทางอารมณ์เชิงบวก (Positive Learning Atmosphere)

            ผู้สอนควรส่งเสริมให้มีลักษณะต่อไปนี้เกิดขึ้น ทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน และสิ่งแวดล้อม

  1. ปลอดภัย ต่อการแสดงออก (Safe Place Environment)
  2. ส่งเสริมการแสดงออก ไม่กลัวผิด แก้ไขเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ได้ง่าย
  3. ส่งเสริมการสร้างอำนาจภายใน (Power from Within และอำนาจร่วม (Power with Other )  ลดการใช้อำนาจเหนือ (Power Over) ในการจัดการพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
  4. การสื่อสารเชิงบวก (Positive Communication)  NVC  I-You Message Humanistic Feedback
  5. รู้สึกดีต่อตนเอง มั่นใจตนเอง มีคุณค่า 
  6. รู้สึกดีต่อคนอื่น ดีที่ได้ทำงานร่วมกัน มีความผูกพัน  ความสัมพันธ์แบบร่วมมือ collaboration ช่วยเหลือ แบ่งปัน ไม่เน้นการแข่งขันและทำเพื่อตนเอง อยู่ร่วมกันแบบเพื่อน กัลยาณมิตร
  7. สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย อยากค้นหา  ยากแต่สามารถทำได้สำเร็จ 
  8. สงบ และมีจังหวะช้าลงที่จะคิดทบทวนตนเอง
  9. เรียนรู้จากความสำเร็จ และไม่สำเร็จ
  10. เรียนรู้จากตนเอง และ เรียนรู้จากเพื่อน
  11. สังเคราะห์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism)
  12. บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้


บทบาทครูในการใช้ จิตวิทยาเชิงบวกในชั้นเรียน

               จิตวิทยาเชิงบวกช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุข สนุกกับการเรียน และสามารถจดจำ นำไปใช้ได้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เรียน และช่วยให้ผู้สอนสนุก อยากสอน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เห็นคุณค่าของตนเอง และมีความสุขกับการสอน ผู้สอนควรสร้างปัจจัยบวก PERMA ให้เกิดขึ้น ทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอน และสิ่งแวดล้อม           

การพัฒนา Positive Emotion8

อารมณ์ด้านบวก กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดแรงจูงใจ อยากเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรม เกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดี การสื่อสารที่ดี ทัศนคติที่ดีระหว่างกัน กิจกรรมทำให้เกิดอารมณ์บวก ได้แก่ ความสนุก ตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น ท้าทาย เกิดความสำเร็จเป็นขั้นๆ ทำให้เกิดความรู้สึกดีต่อตนเอง เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ ชื่นชมความหมายและประโยชน์ในการเรียนรู้ต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม

ครูช่วยให้นักเรียนรู้จักอารมณ์ตนเอง เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึก  ความคิด และพฤติกรรม ให้กล้าแสดงออกทางอารมณ์ แลกเปลี่ยนกัน ยอมรับอารมณ์ เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก และให้ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยให้เกิดความสมดุลของ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม

ผู้สอนสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย ไม่คุกคาม ยอมรับได้ว่าไม่รู้ ไม่ตำหนิความผิดพลาดหรือความเข้าใจผิด ให้เกิดความกล้าที่จะเปิดเผยตนเอง

อารมณ์ด้านบวก สามารถกระตุ้นให้รับรู้ได้ 3 ระดับ ตามเวลา ดังนี้

1. การทบทวนอดีต (past) การชื่นชม เชื่อมโยงกับความรู้หรือประสบการณ์เก่า เกิดความเข้าใจ ยอมรับ ใช้กิจกรรมให้ระลึกถึงคนที่มีคุณค่า ให้ขอบคุณคนที่ทำดี (gratitude) ชื่นชมตนเอง ให้อภัย (forgiveness) คนที่ทำผิดพลาด ให้อภัยตนเอง ให้ย้อนเวลากลับไปบอกตนเองในอดีต

2. การทบทวนตนเองในปัจจุบัน (present) การฝึกสติ (mindfulness) ทบทวนความสนุก (savoring) ให้ฝึกระลึกถึงความคิดความรู้สึกตนเอง การมรสติทำให้ใจสงบ สามารถคิดเชื่อมโยงไปในอดีต เชื่อมโยงไปในอนาคต ให้ทบทวนตนเอง รู้ตนเอง (self awareness training) ลดอคติ สำรวจความคิดความเชื่อด้วยใจเป็นกลาง

3. การคาดหวังในอนาคต (hope) การเห็นคุณค่า การคาดหวังในอนาคต การนำประสบการณ์ไปใช้ หรือประยุกต์ใช้ในชีวิต มีความคาดหวังด้านบวกในอนาคต (optimism)

การสร้างอารมณ์บวกให้เหมาะสมกับการเรียนรู้

               การเรียนรู้ต้องการสภาวะอารมณ์ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้บางอย่างต้องการอารมณ์ที่สงบ ปลอดภัย เช่น การเปิดเผยตัวเอง การทบทวนตนเอง การสำรวจความคิดและความรู้สึก การคิดแบบมีวิจารณญาณ  แต่การเรียนรู้บางอย่างต้องการ ความตื่นเต้น ท้าทาย อยากรู้อยากเห็น ครูช่วยสร้างบรรยากาศและอารมณ์ให้เหมาะกับสถานการณ์  เรียนรู้สิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำ กล้าลองผิดถูก แต่ไม่กลัวมากเกินไป ครูช่วยกระตุ้นและสร้างโอกาสให้นักเรียนกล้าลองทำ เรียนรู้จากประสบการณ์ เมื่อเกิดความผิดพลาด ให้เรียนรู้จากความล้มเหลว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

การจัดการกับอารมณ์ (Emotional Regulation)

            ครูช่วยให้นักเรียนเรียนรู้การจัดการอารมณ์ โดยการมีสติรู้อารมณ์ตนเอง (Self Awareness) ฝึกให้สังเกต ความคิด ความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

  1. การสงบอารมณ์ มีสติ รู้ตัว ว่ากำลังรู้สึกอย่างไร คิดอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
  2. การระบายอารมณ์ มีคนที่รับฟัง ระบายความรู้สึก ความคิด
  3. การแก้ปัญหา เมื่ออารมณ์สงบ มีการคิดทบทวน แก้ไขปัญหาเป็นขั้นตอน
  4. เมื่อไม่รู้ ให้กล้ายอมรับ เปิดใจ แก้ไข
  5. มองตัวเองด้านบวกได้ตามความเป็นจริง และกล้าพัฒนาตนเอง

การสร้าง Engagement

การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (learning engagement) มี 5 ด้าน

1พฤติกรรม ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในกิจกรรม แสดงออก ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรม ไม่สนใจเรื่องอื่นในกิจกรรมนั้น ให้เวลา และทุ่มเทเพื่อกิจกรรม ทำจนสำเร็จ

2.สติปัญญา ผู้เรียนรับรู้ เรียนรู้ เกิดความเข้าใจ สร้างความเชื่อมโยงกับความคิดเดิม เกิดความคิด ความเชื่อแบบใหม่ ลดอคติและความเชื่อเดิมที่ไม่ถูกต้อง มีมุมมองกว้าง perspectives มองโลกกว้าง มองตนเอง ผู้อื่นและอนาคตบวก มีความคิดยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลง เติบโตได้ growth mindset

3 อารมณ์ ผู้เรียนเกิดความรู้สึกดี มีส่วนร่วม ปลอดภัย อยากเรียนรู้ กล้าซักถาม ยอมรับความล้มเหลว อึด ฮึด สู้ ไม่ท้อแท้

4 ร่างกาย ผู้เรียนมีการแสดงออก เคลื่อนไหว แสดงการมีส่วนร่วม ตอบสนองต่อตัวกระตุ้น และนำไปใช้ในชีวิตจริง

5.สังคม ผู้เรียนเกิดความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกัน และต่อผู้สอน มีการสื่อสาร การตอบสนอง การฟัง เข้าใจผู้อื่น

เทคนิค

            ผู้สอนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. การออกแบบกิจกรรมที่ดี ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student centered) และมีส่วนร่วม (student participation) มีโอกาสเลือก ค้นหา แสดงออก สนทนา แลกเปลี่ยนจะช่วยให้เกิดความสนุก ร่วมใจกับผู้สอนและร่วมใจกันในกลุ่ม ใช้การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (experiential learning) ให้ผู้เรียนได้ทำด้วยตนเอง การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning)
  • การใช้กระบวนการกลุ่ม มีการแบ่งกลุ่มที่เสมอภาค ฝึกให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างกัน เน้นกระบวนการกลุ่ม (process) มากกว่าผลงานกลุ่ม (product)  มีการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มร่วมกับการสอนงานกลุ่ม (group coaching) มีการประเมินกลุ่ม และ feedback สม่ำเสมอ จะช่วยให้เกิดความมีส่วนร่วมนี้
  • สร้างทักษะในการเรียนรู้ และทำงานร่วมกัน ออกแบบกิจกรรมให้มีการร่วมมือ (collaboration) แบ่งงาน ช่วยเหลือกัน วางแผนร่วมกัน มีการสื่อสารทางบวก (positive communication) สร้างสรรค์ (creativity)  และคิดแบบมีวิจารณญาณ (critical thinking)
  • ผู้สอนควรมีการสังเกตพฤติกรรม อารมณ์และการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และช่วยเหลือผู้เรียนที่ไม่เชื่อมโยงกับกลุ่มกลับเข้ามารวมกลุ่ม ให้เป็นที่ยอมรับและมีบทบาทในกลุ่มตามความถนัด
  • ผู้สอนควรส่งเสริมการฟีดแบค (feedback) อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะ เพื่อพัฒนาผู้เรียน  อาจให้โดยผู้สอน (teacher feedback) หรือ ให้ผู้เรียนช่วยฟีดแบค (peer feedback)กันเอง ส่งเสริมการฟีดแบค ทั้ง positive feedback และ negative feedback สร้างทักษะการสื่อสารทางบวกในการฟีดแบค และให้ผู้เรียนมีโอกาสฟีดแบคผู้สอนด้วย

การสร้าง Relationship

ความสัมพันธ์ในการเรียนรู้ มี 2 ด้าน

1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน สร้างด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ใช้กิจกรรมกลุ่ม เพื่อฝึกทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การทำงานร่วมกันเป็นทีม (collaboration) การสื่อสาร (communication) การเป็นผู้นำ (leadership)

2. ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ครูควรรู้จักนักเรียนทุกคนเป็นรายบุคคล มีทัศนคติด้านบวกต่อเด็ก จำชื่อและรายละเอียดส่วนตัว รู้ความชอบ ความถนัด จุดเด่น ภูมิหลังครอบครัวและปัญหา ให้ความเสมอภาค ให้โอกาสเด็ก รับฟัง ไม่กดดัน ไม่ใช้อำนาจ เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้อย่างอิสระ ให้เด็กได้ใช้ศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่

การจัดประสบการณ์เรียนรู้ ควรใช้กิจกรรมกลุ่ม การทำงานร่วมกันเป็นทีม ให้เกิดการทำงานร่วมกัน แบ่งปัน ช่วยเหลือ ยอมรับ ฟัง สื่อสาร ให้เกิดการยอมรับและเรียนรู้ร่วมกัน (collaboration)

การสร้าง Meaning

การเรียนรู้จะมีความน่าสนใจ อยากเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนมีเป้าหมายของตนเอง เห็นประโยชน์คุณค่า ครูช่วยสร้างได้ ด้วยการอธิบายเป้าหมายและคุณค่า ความสำคัญของกิจกรรมนั้น และเชื่อมโยงให้เห็นการนำไปใช้งาน แก้ปัญหา หรือมีประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร (เชื่อมโยงกับอนาคต) และถ้าเชื่อมโยงไปถึงการเรียนรู้หรือประสบการณ์เก่า จะช่วยให้สนุกในการเข้าใจและเห็นภาพรวม เห็นความหมายและคุณค่าในชีวิตมากขึ้น ทำให้เข้าใจสนุกและเพลิดเพลินกับการเรียน

ครูสามารถกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของ meaning ได้

เริ่มต้นกิจกรรม ใช้คำถามนำว่า ทำไมถึงต้องเรียนหรือมีกิจกรรมนี้ ใครมีประสบการณ์เดิมในเรื่องที่จะเรียนรู้มาแล้ว มันมีประโยชน์อย่างไร เกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างไร นำไปใช้อย่างไรในชีวิต

ระหว่างกิจกรรม ให้ลองคิดว่า สิ่งที่กำลังเรียนรู้นั้น สัมพันธ์กับชีวิตอย่างไร เอาไปใช้ได้มั้ย ใช้อย่างไร

เมื่อจบกิจกรรม ให้ลองสังเคราะห์ ว่า จะเอาไปใช้ที่ไหน อย่างไร

การส่งเสริม Accomplishment

ครูควรช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าประสบความสำเร็จ ทำได้ ทำได้มากขึ้นกว่าเดิม เห็นความก้าวหน้าของตนเอง การจัดประสบการณ์เรียนรู้ ควรให้ท้าทาย ยากเล็กน้อยแต่พอทำได้สำเร็จ เกิดความภูมิใจตนเอง แล้วเพิ่มความยากขึ้นเล็กน้อย เพียงพอให้กระตุ้นความอยากลอง ท้าทายเล็กน้อยแต่ทำได้มากขึ้นตามลำดับ ให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กแต่ละคน เด็กที่เก่ง ควรมีกิจกรรมท้าทายที่ยากกว่าเด็กปกติทั่วไปมิฉะนั้นจะเบื่อและหมดความสนใจ

ในการเรียนแบบกลุ่มย่อย ควรคละเด็กที่มีความแตกต่างกันทุกด้าน สำหรับเด็กเก่ง ความท้าทายควรอยู่ที่เด็กเก่งช่วยสอนเด็กไม่เก่ง

ครูช่วยสร้างความสำเร็จได้ ด้วยการให้นักเรียนทบทวนตนเองว่า ได้ทำอะไรสำเร็จ ทั้งในกระบวนการ (process) ระหว่างทาง  และ ผลลัพธ์ (product) ปลายทาง นักเรียนแต่ละคนมีความชอบความถนัดแตกต่างกัน ส่งเสริมให้นักเรียนได้ประสบความสำเร็จทางด้านที่ถนัด ฝึกฝนในสิ่งที่ชอบและทำได้ มีความสุขกับการพัฒนาตนเองไปตามจังหวะของตนเอง ครูช่วยให้นักเรียนค้นหาตนเองให้พบว่าชอบและถนัดอะไร ในช่วงวัยรุ่น นักเรียนจะเริ่มรู้ตนเอง สร้างอัตตลักษณ์ของตนเองที่จะกลายเป็นบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่

การประเมินผลการเรียนรู้และฟีดแบค (Assessment and Feedback)

               ครูสามารถออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ ในผู้เรียน ได้ดังนี้

  1. การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียน (behavior observation)
  2. การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ (reflection)
  3. การติดตามพฤติกรรมหลังการเรียนรู้ (long term follow up of behaviors)

การประเมินผล 4 ประเภท

  1. ความพึงพอใจ (Satisfaction)  แบบสอบถามความพึงพอใจ
  2. การเรียนรู้ (Learning Outcome) ใช้บันทึกระหว่างการเรียนรู้  บันทึกใบงาน ผลสรุปงานกลุ่ม แบบประเมิน และบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม (critical thinking / reflection) การทดสอบเริ่ม/เมื่อจบกิจกรรม (Pre-test/Post-test) หรือ การสอบวัดความรู้ (Examination)
  3. พฤติกรรม (Behavior) สังเกต ระหว่างพฤติกรรม หลังการเรียน  ใช้แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมระหว่างการเรียนรู้ และหลังการเรียนรู้ (Behavior Record) หรือ แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
  4. ผลสำเร็จ (Outcome) วัดที่ผู้รับผลจากการเรียนรู้นั้น ในเวลาต่อมา ใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เช่น สัมภาษณ์ผู้เรียนที่ได้เรียนกับผู้สอนที่ผ่านกิจกรรมไปแล้ว


แบบประเมิน PERMA  (PERMA Assessment Rubric Scale)

คำแนะนำ เมื่อจบกิจกรรม

  1. อ่านเกณฑ์การประเมิน
  2. ทบทวน ด้วยใจเป็นกลาง
  3. ให้คะแนนในแบบประเมิน ตามเกณฑ์ในช่อง เป็นตัวเลข 1-5
หัวข้อ PERMAคะแนน
12345
Positive Emotion อารมณ์บวกไม่สนุก ไม่อยากร่วม เบื่อ/เครียด/ ท้อแท้/หมดใจ ถอดใจตลอดกิจกรรม ถูกบังคับมา ไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องทำ/มีส่วนร่วม ไม่ได้อยากรู้จักใครมากเริ่มสนุกบางกิจกรรม ลองทำดูก็ดี รู้สึกเฉยๆกับเพื่อนๆ  เริ่มได้ข้อคิดใหม่ๆ แต่มีบางกิจกรรมแอบเบื่อ  สนุกดีเป็นส่วนใหญ่ เริ่มต้นเฉยๆ แต่ต่อมารู้สึกดีขึ้น รู้สึกดีๆกับเพื่อนๆมากขึ้น เริ่มรู้สึกมั่นใจ เห็นการเปลี่ยนแปลงตนเอง จบแล้วรู้สึกดีกับตนเอง/ผู้อื่นสนุกมากทุกกิจกรรม ถ้ามีกิจกรรมอีกจะสมัคร สนุกกับเพื่อนๆ รู้สึกดีที่รู้จักเพื่อนมากขึ้น อยากจะนำไปใช้กับตนเอง/ผู้อื่น จบแล้วรู้สึกดีต่อตนเอง/เพื่อน อยากรู้จักกันมากขึ้น อยากกลับไปพัฒนาตนเอง และผู้อื่นสนุกที่สุด ได้มากว่าที่คาดไว้ จะแนะนำเพื่อนให้เข้ากิจกรรมแบบนี้ ขอบคุณผู้จัด/เพื่อน ขอบคุณที่มีกิจกรรมนี้ น่าจดจำ อยากกลับไปใช้/สอน อยากติดต่อกันอีก อยากปรับเปลี่ยนนโยบาย
Engagement มีส่วนร่วม/ผูกพันไม่มีส่วนร่วม แอบเปิดมือถือ หลุดออกจากกิจกรรม แอบออกไปนอกห้อง คุยนอกเรื่องตอนแรกไม่ค่อยอยากมีส่วนร่วม แต่พอลองทำแล้วดีขึ้น ยังมีหลุดบ่อยๆมีส่วนร่วมเป็นส่วนใหญ่ แสดงความคิดเห็นบ้าง แต่ไม่ค่อยกล้าแสดงออกบางเรื่องมีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ ทำกิจกรรมครบตลอดเวลา ไม่หลุด ได้ถาม/แสดงความเห็นบ้าง จบแล้วรู้สึกผูกพันกับเพื่อนๆเข้าร่วมกิจกรรมครบ/ตลอดเวลา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น/ถาม/สนทนา/เปิดเผย ไม่พลาดกิจกรรมใดๆเลย
Relationship ความสัมพันธ์เชิงบวกไม่ได้สัมพันธ์กับเพื่อนในกลุ่ม รู้สึกห่างเหิน ไม่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือเพื่อนเริ่มต้นไม่ได้สัมพันธ์กับใคร ไม่อยากสัมพันธ์ด้วย ต่อมารู้สึกดีขึ้น ผ่อนคลายเป็นกันเอง เริ่มสนุกที่จะทำงานกลุ่มร่วมกัน เริ่มเห็นทักษะสังคมเพิ่มขึ้นในตนเอง เช่น การ ฟัง การเปิดเผยตนเอง การชมได้พัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น พัฒนาการสื่อสาร ได้ช่วยเหลือกัน แบ่งปัน เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ได้เห็นและฝึกทักษะสังคมมากขึ้น ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวก รู้สึกดีที่มีเพื่อน/ทำงานร่วมกันสัมพันธ์กับเพื่อนดี เข้าใจเพื่อน เข้าใจตนเอง อยากสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น จบแล้วรู้สึกสนิทกับเพื่อนๆ และอาจารย์มากขึ้น อยากติดต่อกันอีกรู้สึกดีมากกับการมีความสัมพันธ์กับคนอื่น จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม จะชวนเพื่อนเรียนรู้และสอน จะนำไปพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบตัว อยากสร้าง/ทำกิจกรรมที่เกิดความสัมพันธ์ดี อยากทำงานกลุ่มอีก
Meaning คุณค่า ความหมาย สาระไม่ได้อะไร กิจกรรม/ไร้สาระ/สิ้นเปลือง เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่ากิจกรรมมีส่วนให้เห็นเป้าหมาย/เห็นความสำคัญตามหัวเรื่องกิจกรรมช่วยกระตุ้นให้เห็นสาระสำคัญ การมีเป้าหมาย การจัดกระบวนการสอน มีคุณค่าต่อตนเองกิจกรรมมีสาระสำคัญมากสำหรับการพัฒนาตนเอง/ผู้อื่น อยากนำไปใช้ อยากพัฒนาคุณค่าตนเอง  กิจกรรมมีสาระสำคัญที่ดีมาก เห็นมุมมองใหม่ๆที่จะนำไปใช้ในชีวิต อยากนำไปใช้/สอนผู้อื่น อยากเรียนรู้เพิ่ม
Accomplishment ทำได้สำเร็จไม่มีเป้าหมายมาก่อน ไม่ได้อะไรที่เป็นประโยชน์เริ่มต้นไม่มีเป้าหมาย กิจกรรมชวนให้ตั้งเป้าหมาย เรียนรู้ได้สำเร็จบ้างมีเป้าหมายมาก่อน เรียนรู้ได้สำเร็จตามเป้ามีเป้าหมายมาก่อน ได้มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้มีเป้าหมายมาก่อน ได้มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้มาก เห็นความสำคัญของการมีเป้าหมาย


แบบประเมิน PERMA ด้วยตนเอง หรือผู้สอนประเมินผู้เรียนรายบุคคล/รายกลุ่ม

(PERMA Assessment Form)

PERMA12345
Positive Emotion     
Engagement     
Relationship     
Meaning     
Accomplishment     


ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประเมิน

  1. แพทย์ที่ได้เรียนรู้จากครูแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม มีความสุขในการทำงาน พัฒนาตนเองตลอดชีวิต และดูแลผู้ป่วยและญาติด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ (Humanized Health Care)
  2. ครูแพทย์พัฒนาตนเอง(Self-Developed) และกระบวนการสอนได้ต่อเนื่อง และยั่งยืน (Life-long Learning and Sustainability)
  3. เกิดกระบวนการรวมตัวของครูแพทย์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเอง พัฒนากระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่อง (Professional Learning Community : PLC)
  4. กระบวนการมีการไปใช้แพร่หลาย มีการประเมิน ฟีดแบคและพัฒนาขึ้น จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย (Policy Change) ของสถาบันผลิตแพทย์

               การประเมินผล transformative learning สามารถทำได้ด้วยเครื่องมือที่แตกต่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้นั้น การประเมินจะควบคู่ไปการพัฒนาผู้เรียน แบบ formative assessment and feedback

สรุป

จิตวิทยาเชิงบวก ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนสู่การเปลี่ยนแปลงจากภายใน โดยการเรียนรู้ที่เกิดอารมณ์เชิงบวก มีความผูกพันกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดคุณค่าและความหมายต่อชีวิต

กิตติกรรมประกาศ

บทความนี้เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตรกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการก่อการครูแพทย์ (Transformative Workshops for Medical Teachers) เผยแพร่แก่สาธารณะ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาครูแพทย์ จัดทำโดย ชมรมก่อการครูแพทย์  โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ  (ThaiHealth  Academy)

บรรณานุกรม

1. Hefferon, K., & Boniwell, I. (2011). Introduction to Positive Psychology. In Positive psychology: Theory, research and applications. Maidenhead, Berkshire: McGraw Hill Open University Press.

2. About Education. (2013). Martin Seligman – Biography and Psychological Theories. Retrieved from http://psychology.about.com/od/profilesmz/p/martin-seligman.htm

3.Seligman M & Csikszentmihalyi, M (2000). Positive psychology: An introduction, American Psychologist, 55, 5-14.

4.Csikszentmihalyi and Happiness. (n.d.). Retrieved from

 http://www.pursuit-of-happiness.org/history-of-happiness/mihaly-csikszentmihalyi

5. Fredrickson, B. L. (2004). The broaden–and–build theory of positive emotions. Philosophical Transactions of the Royal Society of London. Series B: Biological Sciences, 359(1449), 1367-1377.

6. Broad and Build Theory. Retrieved from https://positivepsychology.com/broaden-build-theory/

7. Peterson, ChristopherSeligman, Martin E. P. (2004). Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification. Oxford: Oxford University.

8. What are Positive and Negative Emotions and Do We Need Both? Retrieved from https://positivepsychologyprogram.com/positive-negative-emotions/#psychology

9. https://en.wikipedia.org/wiki/Positive_illusions#cite_note-notso-1

link