ย้ำคิดย้ำทำ รักษาได้

               หนึ่งในโรคจิตเวชที่รักษาได้ด้วยยา คือโรคย้ำคิดย้ำทำ สมัยก่อนเป็นแล้วรักษาด้วยวิธีการจิตบำบัดอย่างเดียว คนเป็นแล้วไม่ค่อยรักษากันครับ ปัจจุบันมียาดีๆ รักษาหายได้เร็ว ใครเป็นรีบรักษากันครับ

               อ้อม เป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย กำลังเรียนใกล้จบแล้ว มาหาหมอเรื่องมีอาการย้ำคิดย้ำทำ เป็นมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยรักษา อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด ปราศจากเชื้อโรค เคยล้างมือเช่นนี้จนมือเปื่อย แต่ก็ห้ามใจไม่ได้ รู้ว่าการทำซ้ำๆทั้งหมดนี้เป็นเรื่องไม่ปกติ อยากหาย วันหนึ่งไปเรียนวิชาสุขภาพจิตที่ผมสอนที่คณะฯ เป็นวิชาเลือกสำหรับนักศึกษาทั่วไป ผมเล่าเรื่องโรคย้ำคิดย้ำทำ มีอาการอย่างไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร ท้ายชั่วโมงเธอเดินมาขอคุยด้วย บอกว่าเธอน่าจะเป็นโรคนี้ อาการเหมือนกับที่หมอสอนเลย ไม่คิดว่าจะรักษาได้ อาการย้ำทำล่าสุด คือ ขับรถตกหลุมกลางถนน ผ่านไปแล้วสงสัยว่าเมื่อตะกี้นี้ไปทับใครหรือไม่ ต้องย้อนกลับตรวจสอบให้แน่ใจ พอผ่านไปรอบที่สอง ชะลอเช็คไม่เห็นว่ามีอะไร แต่ขับรถผ่านไปแล้วก็ไม่แน่ใจอีก ต้องวนรถกลับมาดูสี่ห้ารอบ ทำให้ชีวิตต้องเสียเวลาไปกับการตรวจเช็คเรื่องเหล่านี้ เห็นว่าหมอรักษาได้เลยอยากลองรักษาดู เรื่องการย้ำทำหลายอย่างของอ้อมนี้ เป็นอาการสามัญของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-compulsive Disorder เรียกย่อๆว่า OCD ประกอบด้วยการย้ำคิด เช่น คิดว่าลืมปิดประตู คิดว่ามีเชื้อโรคติดมาตามร่างกาย ย้ำคิดว่าจะเป็นโรค คิดว่าขับรถทับใคร แล้วทำให้ย้ำทำ คือ การตรวจสอบ เช็คซ้ำ ให้แน่ใจ แต่พอย้ำทำแล้วไม่แน่ใจอีก จะย้ำคิดว่าได้ทำแล้วจริงมั้ย เกิดความกังวล  ต้องกลับไปทำซ้ำๆ หลายๆครั้ง เพื่อลดความกังวล พอทำไปหลายๆครั้งจะเข้าวงจรของโรคนี้ และอาการจะเปลี่ยนไปเป็นย้ำคิดย้ำทำแบบอื่น เช่น ถามคนใกล้ชิดซ้ำๆ ขอความมั่นใจ ให้คนอื่นช่วยยืนยัน การถามซ้ำนี้จะทำให้คนถูกถามรำคาญ หงุดหงิด ไปจนถึงระเบิดได้ เพราะเธอถามไม่หยุด ด้วยคำถามเดิมๆ เช่น ไม่เป็นไรแน่นะ หมอที่รักษาจะโดนถามซ้ำๆ ว่า หายแน่นะคะหมอ วงจรย้ำคิดย้ำทำนี้ เป็นกลไกทางจิต ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติครับ ถ้าไม่รักษาจะฝังแน่น รักษายาก บางคนมีอาการเด่นเฉพาะย้ำคิด เช่น เวลาเดินผ่านพระภิกษุ จะมีความคิดว่าอยากเข้าไปเขกหัว ไม่รู้ว่าทำไมถึงอยากทำแบบนั้น แต่ห้ามความคิดนั้นไม่ได้ คิดแล้วก็รู้สึกผิด บาป จนพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าวัด บางคนกลัวว่าจะทำตามการย้ำคิดนั้นจริงๆ การรักษาปัจจุบัน จะใช้ยาควบคู่กับพฤติกรรมบำบัดครับ ยาไปช่วยปรับสมดุลของสารสื่อนำประสาท ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ คือ ซีโรโทนิน อาการจะดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 2-3 เดือนจะได้ผล บางคนอาการหมดไปเลย แต่คนที่เป็นเรื้อรังมาหลายๆปี อาจต้องปรับยา และฝึกความคิดและพฤติกรรมต่ออีกหลายเดือน กว่าจะหายได้ ผลการรักษาดีกว่าแต่ก่อนมากครับ หลังจากที่อ้อมได้ไปรักษากับจิตแพทย์ และนักจิตบำบัดที่ผมแนะนำ เธอก็เดินยิ้มกลับมารายงานผลว่าตอนนี้หายแล้ว มีบางครั้งที่กลับมีอาการอีก แต่ใช้วิธีการบำบัดตัวเองที่ฝึกจากนักจิตบำบัด ก็หายได้ หมอให้กินยาพักใหญ่ ตอนนี้ลดยาจนใกล้หยุดได้แล้ว ขอบคุณมากที่หมอช่วยแนะนำ ตอนนี้พยายามชวนพ่อที่น่ามีอาการโรคซึมเศร้า และแม่ที่สงสัยว่าเป็นโรคแพนิก ไปหาจิตแพทย์ท่านนั้น ผมเลยอธิบายว่า โรคทั้งสามในครอบครัวอ้อมนี้ เป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นกรรมพันธุ์ เกิดจากการเสียสมดลของซีโรโทนินเหมือนกัน แต่อาการอาจแตกต่างกัน บางคนออกมาเป็นย้ำคิดย้ำทำ บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนเป็นโรคแพนิก แต่ทั้งสามโรคนี้รักษาหายได้ด้วยยาตัวเดียวกันครับ  

โรคจิตเวชเดี๋ยวนี้รักษาได้ผลดี ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก การให้ความรู้เรื่องโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญครับ ช่วยให้คนเข้าใจ มีความหวัง เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว มีความสุขกับชีวิตได้เต็มที่ครับ

ไฮไลท์

“อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด”

บทความหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567

ย้ำคิดย้ำทำ รักษาได้

               หนึ่งในโรคจิตเวชที่รักษาได้ด้วยยา คือโรคย้ำคิดย้ำทำ สมัยก่อนเป็นแล้วรักษาด้วยวิธีการจิตบำบัดอย่างเดียว คนเป็นแล้วไม่ค่อยรักษากันครับ ปัจจุบันมียาดีๆ รักษาหายได้เร็ว ใครเป็นรีบรักษากันครับ

               อ้อม เป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย กำลังเรียนใกล้จบแล้ว มาหาหมอเรื่องมีอาการย้ำคิดย้ำทำ เป็นมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยรักษา อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด ปราศจากเชื้อโรค เคยล้างมือเช่นนี้จนมือเปื่อย แต่ก็ห้ามใจไม่ได้ รู้ว่าการทำซ้ำๆทั้งหมดนี้เป็นเรื่องไม่ปกติ อยากหาย วันหนึ่งไปเรียนวิชาสุขภาพจิตที่ผมสอนที่คณะฯ เป็นวิชาเลือกสำหรับนักศึกษาทั่วไป ผมเล่าเรื่องโรคย้ำคิดย้ำทำ มีอาการอย่างไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร ท้ายชั่วโมงเธอเดินมาขอคุยด้วย บอกว่าเธอน่าจะเป็นโรคนี้ อาการเหมือนกับที่หมอสอนเลย ไม่คิดว่าจะรักษาได้ อาการย้ำทำล่าสุด คือ ขับรถตกหลุมกลางถนน ผ่านไปแล้วสงสัยว่าเมื่อตะกี้นี้ไปทับใครหรือไม่ ต้องย้อนกลับตรวจสอบให้แน่ใจ พอผ่านไปรอบที่สอง ชะลอเช็คไม่เห็นว่ามีอะไร แต่ขับรถผ่านไปแล้วก็ไม่แน่ใจอีก ต้องวนรถกลับมาดูสี่ห้ารอบ ทำให้ชีวิตต้องเสียเวลาไปกับการตรวจเช็คเรื่องเหล่านี้ เห็นว่าหมอรักษาได้เลยอยากลองรักษาดู เรื่องการย้ำทำหลายอย่างของอ้อมนี้ เป็นอาการสามัญของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-compulsive Disorder เรียกย่อๆว่า OCD ประกอบด้วยการย้ำคิด เช่น คิดว่าลืมปิดประตู คิดว่ามีเชื้อโรคติดมาตามร่างกาย ย้ำคิดว่าจะเป็นโรค คิดว่าขับรถทับใคร แล้วทำให้ย้ำทำ คือ การตรวจสอบ เช็คซ้ำ ให้แน่ใจ แต่พอย้ำทำแล้วไม่แน่ใจอีก จะย้ำคิดว่าได้ทำแล้วจริงมั้ย เกิดความกังวล  ต้องกลับไปทำซ้ำๆ หลายๆครั้ง เพื่อลดความกังวล พอทำไปหลายๆครั้งจะเข้าวงจรของโรคนี้ และอาการจะเปลี่ยนไปเป็นย้ำคิดย้ำทำแบบอื่น เช่น ถามคนใกล้ชิดซ้ำๆ ขอความมั่นใจ ให้คนอื่นช่วยยืนยัน การถามซ้ำนี้จะทำให้คนถูกถามรำคาญ หงุดหงิด ไปจนถึงระเบิดได้ เพราะเธอถามไม่หยุด ด้วยคำถามเดิมๆ เช่น ไม่เป็นไรแน่นะ หมอที่รักษาจะโดนถามซ้ำๆ ว่า หายแน่นะคะหมอ วงจรย้ำคิดย้ำทำนี้ เป็นกลไกทางจิต ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติครับ ถ้าไม่รักษาจะฝังแน่น รักษายาก บางคนมีอาการเด่นเฉพาะย้ำคิด เช่น เวลาเดินผ่านพระภิกษุ จะมีความคิดว่าอยากเข้าไปเขกหัว ไม่รู้ว่าทำไมถึงอยากทำแบบนั้น แต่ห้ามความคิดนั้นไม่ได้ คิดแล้วก็รู้สึกผิด บาป จนพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าวัด บางคนกลัวว่าจะทำตามการย้ำคิดนั้นจริงๆ การรักษาปัจจุบัน จะใช้ยาควบคู่กับพฤติกรรมบำบัดครับ ยาไปช่วยปรับสมดุลของสารสื่อนำประสาท ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ คือ ซีโรโทนิน อาการจะดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 2-3 เดือนจะได้ผล บางคนอาการหมดไปเลย แต่คนที่เป็นเรื้อรังมาหลายๆปี อาจต้องปรับยา และฝึกความคิดและพฤติกรรมต่ออีกหลายเดือน กว่าจะหายได้ ผลการรักษาดีกว่าแต่ก่อนมากครับ หลังจากที่อ้อมได้ไปรักษากับจิตแพทย์ และนักจิตบำบัดที่ผมแนะนำ เธอก็เดินยิ้มกลับมารายงานผลว่าตอนนี้หายแล้ว มีบางครั้งที่กลับมีอาการอีก แต่ใช้วิธีการบำบัดตัวเองที่ฝึกจากนักจิตบำบัด ก็หายได้ หมอให้กินยาพักใหญ่ ตอนนี้ลดยาจนใกล้หยุดได้แล้ว ขอบคุณมากที่หมอช่วยแนะนำ ตอนนี้พยายามชวนพ่อที่น่ามีอาการโรคซึมเศร้า และแม่ที่สงสัยว่าเป็นโรคแพนิก ไปหาจิตแพทย์ท่านนั้น ผมเลยอธิบายว่า โรคทั้งสามในครอบครัวอ้อมนี้ เป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นกรรมพันธุ์ เกิดจากการเสียสมดลของซีโรโทนินเหมือนกัน แต่อาการอาจแตกต่างกัน บางคนออกมาเป็นย้ำคิดย้ำทำ บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนเป็นโรคแพนิก แต่ทั้งสามโรคนี้รักษาหายได้ด้วยยาตัวเดียวกันครับ  

โรคจิตเวชเดี๋ยวนี้รักษาได้ผลดี ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก การให้ความรู้เรื่องโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญครับ ช่วยให้คนเข้าใจ มีความหวัง เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว มีความสุขกับชีวิตได้เต็มที่ครับ

ไฮไลท์

“อาการคือ ก่อนจะออกจากบ้าน ต้องเปิดปิดประตูหลายครั้ง เช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูแล้ว เช็คว่าปิดน้ำ ปิดไฟครบทั้งบ้าน บางครั้งการตรวจสอบซ้ำๆเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จนไปสาย เวลากลับถึงบ้าน จะต้องเข้าห้องน้ำล้างมือหลายๆครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามือสะอาด”

บทความหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567

เผยแพร่โดย

ใส่ความเห็น